วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

วันเด็กแห่งชาติ 2555

คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ 
 "สามัคคี มีความรู้ คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี"
 ประวัติ ความเป็นมาของ "วันเด็ก"
1จากคำกล่าวที่ว่า... อนาคตของประเทศชาติจะเป็นอย่างไรต่อไป ส่วนหนึ่งต้องขึ้นอยู่กับคุณภาพชีวิตของเด็กในประเทศนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องให้ การพิทักษ์รักษาคุ้มครองทางด้านกฎหมาย ตลอดจนให้ความสำคัญแก่เด็ก ๆ เพราะถือว่า เด็ก คือมนุษย์ที่ยังอ่อนอยู่ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมาย ของคำว่า "เด็ก" ไว้ดังนี้
เด็ก หมายถึง คนที่มีอายุยังน้อย ยังเล็ก
เด็กชาย คือ คำนำเรียกเด็กผู้ชายที่มีอายุไม่เกิน ๑๔ ปีบริบูรณ์
เด็กหญิง คือ คำนำเรียกเด็กผู้หญิงที่มีอายุไม่เกิน ๑๔ ปีบริบูรณ์
 
ความเป็นมาของ "วันเด็กสากล"
1เมื่อปีพุทธศักราช 2498 ได้เกิดปฏิญญาว่าด้วยสิทธิเด็กขึ้น โดยองค์การสหประชาชาติทำให้ทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะให้ความสำคัญแก่เด็ก ๆ ของตนมากขึ้น การขานรับในการนี้จากประเทศต่าง ๆ เป็นไปอย่างกว้างขวาง ในปีเดียวกันนั้นเอง ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกไม่น้อยกว่า 40 ประเทศต่างก็จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติของประเทศตนขึ้น โดยกำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ
การจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติในแต่ละประเทศขณะนั้น มีรูปแบบที่คล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ โดยยึดหลักการให้ความสำคัญแก่เด็กเป็นวัตถุประสงค์หลัก โดยเปิดสถานที่ราชการที่สำคัญเช่น พิพิธภัณฑ์ รัฐสภา เป็นต้น ให้เด็ก ๆได้เข้าชมและศึกษา บางแห่งจัดการแสดงมหรสพ มีการแจกอาหาร แข่งขันเกม แจกของขวัญ ฯลฯ ต่อมางานนี้ได้รับความสำคัญทั่วโลกจึงได้จัดกันแพร่หลายมาถึงปัจจุบัน

1การจัดงานวันเด็กในประเทศไทย
ปีพุทธศักราช 2498 อันเป็นปีที่ทั่วโลกเริ่มจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติกันขึ้น ตามความเห็นคล้อยตามกับองค์การสหประชาชาติที่นำปัญหาเรื่องเด็กมาร่างเป็นปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของเด็กขึ้นมา
ประเทศไทยได้รับข้อเสนอของนาย วี เอ็ม กุลกานี ผู้แทนองค์กรสมาพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศ ผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยว่า ประเทศไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของเด็กให้มากขึ้น ดังที่นานาประเทศกำลังทำอยู่
ขณะนั้น สภาวัฒนธรรมแห่งชาติยังมิได้ถูกยุบเลิกไป คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมเพื่อพิจารณา ในที่สุดที่ประชุมได้เห็นชอบนำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ..2498 ได้มีมติคณะรัฐมนตรีรับหลักการ ให้จัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการรับไปดำเนินการ ส่วนของค่าใช้จ่ายในการจัดงานั้น ได้อนุมัติเงินจากกองสลากกินแบ่งรัฐบาลมาดำเนินการ
1ดังนั้น ในวันที่ 3 ตุลาคม พ..2498 ประเทศไทย จึงมีงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จากนั้นเป็นต้นมา ทางราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นวันเด็กแห่งชาติสำหรับประเทศไทย และจัดติดต่อกันมาจนถึงปี พ..2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้น มีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่ เพื่อความเหมาะสมด้วยเหตุผลว่า ในเดือนตุลาคมสำหรับประเทศไทยเราเป็นเดือนที่ยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็ก ๆ ไม่สะดวกในการมาร่วมงาน ประการต่อไปก็คือ วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้ ตลอดจนการจราจรก็ติดขัด จึงเห็นว่าควรจะเปลี่ยนไปเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมเสียทุกสิ่งทุกอย่างได้สะดวกสบายขึ้น และมีความเหมาะสมมากกว่า
จากข้อเสนอดังกล่าว คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการจัดงานวัดเด็กแห่งชาติเสนอ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2507 จึงประกาศเปลี่ยนงานฉลองวันเด็กแห่งชาติจากวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม มาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นมา ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ปี พ..2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว
งานวันเด็กแห่งชาติได้เริ่มจัดขึ้นมาใหม่อีกครั้งในปี พ..2508 และจัดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลาได้ 38 ปีแล้ว (งดจัดในปี พ..2507 หนึ่งปี) 
 
วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ
1. เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็ก สนใจในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนเด็ก และช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กเป็นพิเศษ
2. เพื่อให้เด็กและและเยาวชนยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
3. เพื่อให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตน และอยู่ในระเบียบวินัยอันดี
4. เพื่อเผยแพร่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของเด็ก

ความสำคัญของวันเด็กแห่งชาติ


วันเสาร์ที่ 10 มกราคม 2552 นี้เป็นวันเด็กแห่งชาติครั้งที่ 52 ของประเทศไทย รัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นรัฐบาลที่ริเริ่มให้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรกในวัน จันทร์แรกของเดือนตุลาคมปี 2498 ตามการเชิญชวนของ มร.วี.เอ็ม.กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ ชาวอินเดีย

เป้าหมายของการจัดงานวันเด็กของชาตินั้น เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก และเพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศโดยปลูกฝังให้ เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ รัฐบาลได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจและเอกชนกำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วน ภูมิภาค

วัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

ประเทศไทยนั้นมีประชากรที่เป็นเด็กที่มีอายุไม่เกิน 14 ปี เป็นจำนวนประมาณร้อยละ 24 หรือ 15.36 ล้านคนจากจำนวนประชากร 64 ล้านคน ทั่วโลกถือว่าเด็กเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ การจัดงานวันเด็กจึงถือเป็นวันสำคัญของแต่ละชาติตามแต่ความเหมาะสม นอกจากจัดงานแล้วนายกรัฐมนตรีแต่ละท่าน ตั้งแต่จอมพลแปลก พิบูลสงคราม จนถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีคำขวัญมอบให้เด็กเนื่องในโอกาสงานวันเด็กแห่งชาติทุกปี

คำขวัญวันเด็กแต่ละปีนั้นเป็นคติเตือนใจที่ให้ข้อคิดแก่เด็ก คำขวัญแรกในวันที่ 3 ตุลาคม 2499 เป็นของจอมพลแปลกมีข้อความว่า จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม ส่วนคำขวัญในปีนี้เป็นของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 มีข้อความว่า ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี

นอกจากคำขวัญของนายกรัฐมนตรีแล้ว กรมประชาสัมพันธ์ ได้จัดทำเพลงเด็กเอ๋ยเด็กดี ขึ้นมาเป็นเพลงที่มีเนื้อหาเตือนใจเด็กและเยาวชนเพื่อให้ระลึกถึงสิ่งที่ตน ควรทำ ประพันธ์เนื้อร้องโดยนางชอุ่ม ปัญจพรรค์ และทำนองโดย ครูเอื้อ สุนทรสนาน เพลงนี้จะเปิดในวันเด็กแห่งชาติอยู่เสมอ

เนื้อเพลงได้แจกแจงหน้าที่ของเด็กดีว่าต้องมีหน้าที่ 10 ประการด้วยกันคือ นับถือศาสนา รักษาธรรมเนียมมั่น เชื่อฟังพ่อแม่ครูอาจารย์ มีวาจาสุภาพอ่อนหวาน มีความกตัญญู รู้รักการงาน ศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญ มีความขยันมานะอดทนไม่เกียจคร้าน รู้จักออมและประหยัด มีความซื่อสัตย์ มีน้ำใจนักกีฬาและทำตนให้เป็นประโยชน์ รู้บาปบุญคุณโทษและรู้จักรักษาสมบัติของชาติ 

3 ความคิดเห็น: